สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอท่าสองยาง
 

อำเภอท่าสองยาง เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของ
อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2491 ได้โอนมาขึ้นกับ
อำเภอแม่สอด จังหวัดตากและเมื่อปี พ.ศ. 2494 กิ่งอำเภอแม่ระมาด ได้รับการ
ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ กิ่งอำเภอท่าสองยาง จึงโอนไปขึ้นอยู่กับอำเภอแม่ระมาด
แล้วจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2501 จนถึงปัจจุบันนี้

               เมื่อครั้งยังเป็นกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่สะเรียงนั้น ที่ว่าการอำเภอ
ตั้งอยู่ที่บ้านท่าสองยาง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสองยาง ต่อมาเมื่อได้โอนมาอยู่
ู่ในเขตการปกครองของจังหวัดตาก จึงได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอมาตั้งอยู่ที่บ้านแม่ต้าน
หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ต้าน ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน สาเหตุที่ย้ายก็เพราะ
บ้านแม่ต้านเป็นหมู่บ้านที่มีราษฎรอยู่หนาแน่นสะดวกในการติดต่อไปมาของราษฎรเป็น อำเภอชายแดนติดกับประเทศพม่า อยู่ติดลำน้ำเมย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพื้นราบ ประกอบอาชีพทำไร่ ระยะทางจากอำเภอแม่สอด - อำเภอท่าสองยาง ประมาณ 84 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวอำเภอเมืองตากถึงอำเภอท่าสองยางประมาณ 169 กิโลเมตร

ที่ว่าการอำเภอท่าสองยางในอดีต

---------------------------------------------------------------



เมืองเก่าท่าสองยาง

ตั้ง อยู่บริเวณห้วยลึก ห้วยธาตุริมฝั่งแม่น้ำเมยทางทิศใต้ของชุมชนแม่ต้าน สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองฉอดเก่า จากการสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2502 พบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าด้านทิศใต้บ้านแม่ต้านริมฝั่งแม่น้ำเมย ภายในเมืองโบราณมีแนวเทินดินมีคูคั่นเป็นกำแพงเมืองโบราณ ทางด้านทิศตะวันตก มี 3 ชั้น มีโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ 10 แห่ง บ่อน้ำสี่เหลี่ยมกรุอิฐ ลึกประมาณ 20 เมตร 1 บ่อ ลานกว้างบนยอดดอยมีพระเจดีย์แบบเชียงแสน 1 องค์ นอกจากนี้ยังพบก้อนอิฐส่วนมากเป็นแบบสุโขทัย มีอิฐแบบอยุธยาปนอยู่บ้าง ไม่มีปูนสอ รอบโบสถ์ พบกองอิฐวางประจำอยู่ทิศทั้ง 8 เหมือนกับที่พบที่โบราณสถานที่บางแห่งในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใบเสมาพบแผ่นเดียวที่ดอยพระธาตุ พบแผ่นสัมฤทธิ์มีลวดลายสำหรับประดับองค์ระฆังแบบเชียงแสน พบพระพุทธรูปแบบสัมฤทธิ์แบบเชียงแสนหลายองค์ ภายในบริเวณเมืองเก่ามีศาลเจ้าอโมกขละ มีวัดเก่าที่ร้างหลายแห่ง และมีเจดีย์เก่าที่สำคัญ คือ พระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก ได้บูรณะหลายครั้งเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2412 มีชาวกระเหรี่ยงชื่อ นายพะสุแฮ ได้ศรัทธา ทำการบูรณะพระเจดีย์องค์นี้จนเป็นผลสำเร็จต่อมาปี พ.ส. 2470 พระอภิชัย (ปี๋) หรือ ประขาวปี๋ ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยทำเป็ฯเจดีย์ทรางสี่เหลี่ยม และมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันที่ 19 เมษายนของทุกปี เรียกว่า วันน้ำทิพย์ของชาวบ้านแม่ด้าน บริเวณใกล้เคียงเรียกว่าโบราณสถานทุ่งกากอกพบโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ มีผุ้พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ แบบเชียงแสนกว่า 400 องค์ กำแพงก่อเป็นเทินดิน 2 ชั้น มีคูคั่นหนอง ซึ่งเชื่อกันว่าขุดเอาดินไปทำอิฐ อิฐที่โบสถ์ วิหาร และเจดีย์เป็นแบบสุโขทัย เนื้อข้าวไม่มีแกลบก่ออ้วยปูนสอ พบก้อนหินอยู่รอบโบสถ์ซึ่งเข้าใจว่าใช้แทนใบเสมา

---------------------------------------------------------------

วัดมงคลคีรีเขตร์ (ครูบาสร้อย)

ตั้ง อยู่ริมทางหลวงสายแม่สอด-ท่าสองยาง-แม่สะเรียง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 136 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสองยาง อยู่ติดกับ ลำห้วยแม่จวง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2462 สิ่งที่น่านใจภายในวัดนี้คือ กุฏิครูบาสร้อย ขันติสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดมงคลคีรีเขตร์ มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยงที่อยู่ตรงข้ามอำเภอชายแดนฝั่งตะวัน ตก เชื่อกันว่าเป็นผู้ที่มีอาคมกล้าแข็งสามารถป้องกันอันตรายต่างๆให้กับผู้ที่ เคารพนับถือ ซึ่งวัดนี้อยู่ตรงข้ามกับค่ายทหารกระเหรี่ยง มีชื่อค่ายว่า แม่ตะวอ เมื่อมีการสู้รบรุนแรง ดังนั้นชาวบ้านและกระเหรี่ยงทั้งไทย แะพม่าจึงเจ้ามาหลบภัยอยู่ที่วัดนี้นี่เอง ครูบาสร้อยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 ปัจจุบันอยู่ในโลงแก้วในกุฏฺ ที่ท่านเคยอยู่โดยไม่เน่าเปื่อย



---------------------------------------------------------------



อุทยานแห่งชาติ แม่เมย

อยู่ ในเขตอำเภอท่าสองยาง มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนสหภาพพม่าโดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นแบ่งเขตแดน บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีการจัดภูมิทัศน์ และตกแต่งพื้นที่ด้วยไม้ประดับดูสวยงาม บรรยากาศโดยรอบที่ทำการสงบร่มรื่นด้วยป่าเขา และยังมีสัตว์ป่าต่างๆ เช่น กวาง ละมั่ง เป็นต้น นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ใช้เวลาเดินประมาณ 6 ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางโดยติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานฯ เป็นเส้นทางเดินแบบไปเช้า - เย็นกลับ หรือจะพักแรมก็ได้ ระหว่างเส้นทางที่เดินเป็นทางขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้าง ทางเดินไม่ชันมาก เดินเรียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านน้ำตกเล็กๆ บางครั้งต้องปีนบันไดไม้ไผ่ที่สร้างขึ้นขนานไปกับน้ำตก ละอองน้ำจากน้ำตกจะกระเด็นเข้ามาปะทะที่ใบหน้าทำให้สดชื่นขึ้น หากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบดอกไม้ป่านานาชนิดหลากสีสันบานอยู่ริมทางเดิน หรือริมน้ำตก เช่น ดอกกระทือสีแดง ดอกบัวตองสีเหลืองบานเป็นกอชวนสะดุดตาตัดกับผืนป่าสีเขียว บางดอกซ่อนตัวอยู่กับพรมมอสสีเขียวเข้ม

---------------------------------------------------------------