อำเภอแม่สอด
อยู่ ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 เดิมชื่อพระหน่อเก่ ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาฝั่งสหภาพพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 2,600 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขา และคนที่อพยพจากอำเภอเมืองเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยา และบุตรเป็นคนไทยด้วย
ประวัติ การบันทึกของพงศาวดาร กล่าวถึงการอพยพของชนชาติไทย ที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนใต้ตามแนวแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน) มีกลุ่มหนึ่งข้ามแม่น้ำคงเลาะเลียบมาทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำต่องยิน หรือแม่น้ำเมย กลุ่มหนึ่งปักหลักอยู่ตรงนี้ และอีกกลุ่มหนึ่งผ่านช่องแคบแม่ลำเมา (แม่ละเมา) อพยพถิ่นฐานมาอยู่ที่ เมืองแจ้ตาก หรือเมืองตาก ผู้อพยพถิ่นฐานมาที่เมืองแจ้ตากในยุคนั้น ตั้งตนเป็นเจ้านครปกครองสืบทอดกันมาในราวปี พ.ศ. 560 กล่าวกันว่าเป็นรัชสมัยของ พระเจ้าสักคำ เป็นกษัตริย์ปกครอง พงศาวดารกล่าวว่า เมืองแจ้ตาก ในยุคนั้นเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุด มีการติดต่อค้าขายกับเมืองอินเดีย พม่า มอญและ ทิเบตอีกด้วย ส่วนกลุ่มที่ปักหลักอยู่บนลุ่มแม่น้ำต่องยิน ได้ตั้งอาณาจักรเป็นเมืองฉอด เมืองที่อยู่คั่นกลางระหว่างแคว้นพุกาม และเมืองสุโขทัย
---------------------------------------------------------------------------------------------
 |
แม่น้ำเมย (แม่น้ำต่องยิน)
เป็น เส้นกั้นเขตแดนประเทศไทยกับสหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ไหลขึ้นมิได้ไหลลงเช่นแม่น้ำทั่วๆ ไป มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ แล้วไหลผ่านอำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง ไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้วมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวินแล้วไหลลงอ่าวมะตะบันใน เขตพม่า
การเดินทาง จากอำเภอแม่สอดใช้ทางหลวงหมายเลข 105 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร สุดเขตแดนไทยถึงแม่น้ำเมย
|
-----------------------------------------------------------------
เนินพิศวง
อยู่ บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก - แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไป เอง มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่า เกิดจากเป็นภาพลวงตา เนื่องจากได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้วปรากฏว่า ช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้น มีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางลงเนิน ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้ |
 |
---------------------------------------------------------------
 |
วัดมณีไพรสณฑ์
ตั้ง อยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน ได้แก่ พระพุทธโคดมบรมศรีเมืองฉอด (หลวงพ่อโต) เจดีย์วิหารสัมพุทเธ มีลักษณะแปลกคือ บนองค์เจดีย์มีเจดีย์ เล็กๆ ล้อมรอบถึง 233 องค์ และพระพุทธรูปบรรจุอยู่ถึง 512,028 องค์ มีโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ที่บริเวณหน้าบัน และหลังคาโบสถ์มีลายไม้ฉลุสวยงาม บริเวณโดยรอบวัดมีซุ้ม และศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ได้แก่ หลวงพ่อสังกัจจาย พระพุทธรูปปูนปั้นปางพุทธไสยาสน์ เป็นต้น |
--------------------------------------------------------------- |
วัดโพธิคุณ หรือ วัดห้วยเตย
ตั้ง อยู่ตำบลแม่ปะ อ.แม่สอด เป็นวัดป่าสายปฏิบัติที่ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในวัดออกแบบและจัดวางผัง สภาพภูมิทัศน์ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างตกแต่ง ตลอดจนการปั้นพระพุทธรูป โดยคุณสมประสงค์ชาวนาไร่ ศิลปบัณฑิตจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีและมหาบัณฑิตทางด้านโบราณคดีมหาวิทยลัย ศิลปากร ท่านได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการก่อสร้างนานกว่า 17 ปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่ขอรับค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น สิ่งก่อสร้างและจุดที่น่าสนใจศึกษา
 |


|
--------------------------------------------------------------- |

 |
วัดไทยวัฒนาราม
เดิม ชื่อ วัดแม่ตาวเงี้ยว หรือ วัดไทยใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด ห่างจากตัวอำเภอแม่สอดไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 84 ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก - แม่สอด เส้นที่จะไปตลาดริมเมย ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย - พม่า เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่างๆ ได้รับอิทธิพลมาจากสหภาพพม่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวพม่ารัฐฉาน ที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า หมื่นอาจคำแหงหาญ ในปี พ.ศ. 2500 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาในสังกัดกรมศาสนา ในวัดมีพระพุทธมหามุณี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่ เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ สหภาพพม่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก |
--------------------------------------------------------------- |
วัดชุมพลคีรี
ตั้งอยู่ในตัว อ.แม่สอด เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2314 เดิมชื่อวัดกลาง ภายในประดิษฐานเจดีย์สีทององค์ใหญ่ สร้างใหม่ซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า รอบเจดีย์รายรอบด้วยเจดีย์บริวาร 20 องค์ ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย ที่จำลองมาจากพระพุทธชินราช แต่ย่อขนาดลงมา องค์พระธาตุบรรจุคัมภีร์และพระพุทธรูป ส่วนในวิหารเป็นที่เก็บกลองโบราณอายุกว่า 200 ปี |
|
|
|
 |
--------------------------------------------------------------- |

 |
สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน)
ตั้ง อยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้แปลกกว่าแม่น้ำทั่วไปคือไหลขึ้นทางทิศเหนือ โดยมีจุดกำเนิดที่บ้านน้ำด้น (เป็นน้ำที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน) อำเภอพบพระ ไหลผ่านอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำภอท่าสองยาง ผ่านบ้านสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ไหลเข้าเขตพม่าลงอ่าวมะตะบัน |
--------------------------------------------------------------- |
 |
ศาลเจ้าพ่อขุนสามชม
ตั้ง อยู่ทางขวามือ ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 70-71 ศาลนี้เพิ่งสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อปลายปี 2523 เหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่า มีคหบดีผู้หนึ่งเจ็บปวดด้วยโรคอัมพาตมาช้านานแล้ว ได้ฝันว่ามีผุ้มาบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้น ตรงบริเวณที่เป็นศาลปัจจุบัน คหบดีผู้นี้จึงสร้างศาลขึ้นถวายเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชมนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีผู้นั้น ก็เป็นปกติ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือศาลนี้มาก |
--------------------------------------------------------------- |
ศาลเจ้าพ่อพะวอ
ตั้ง อยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตาก และชาวอำเภอแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบ จึงชอบเสียงปืน ทำให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะมักยิงปืนถวาย จุดประทัด หรือบีบแตรถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ (รายละเอียดเพิ่มเติม) |
 |
 ---------------------------------------------------------- |
 |
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อยู่ ตรงข้ามสนามกีฬาเทศบาลแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2545 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ครั้นเมื่อพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกลง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ โดยเสด็จผ่านด่านแม่ละเมา อ.แม่สอดเป็นแห่งแรก |
--------------------------------------------------------------- |
คอกช้างเผือก
ตั้ง อยู่เขตบ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด ตามทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ด่อนถึงตลาดริมเมย ประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยาง ประมาณ 2 กิโลเมตร คอกช้างเผือกนี้มีลักษณะเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ปากคอกกว้างประมาณ 15 เมตร เป็นรูบสอบขนานกันไป ยาวประมาณ 50 เมตร ก่อสร้างในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 88 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 หน้า 21 (ฉบับพิเศษ) มีพื้นที่ 7 ไร่ 87 ตารางวาตามพงศาวดารกล่าวว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีมะกะโท (คนเลี้ยงช้าง) เป็นชาวมอญได้เข้ารับราชการเป็นขุนวัง มีโอกาสใกล้ชิดพระนางสร้อยดาว พระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช มะกะโทจึงลักลอบพาพระราชธิดาหนีไปอยู่ที่เมืองเมาะตะมะเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้พระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว (มีพระราชพงศาวดารพม่าว่า "สมิงวาโร" คำให้การของชาวกรุงเก่า มีพระนามว่า "พระเจ้าวาริหู" ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 และราชาธิราช มีพระนามว่า "พระเจ้าวาโรตะละไตยเจิญภะตาน") ต่อมามีช้างเผือกดุร้ายเชือกหนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกนี้เป็นช้างคู่บารมีของกษัตริย์นครใด ขอให้ช้างเผือกนี้บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแน่พระทัยว่า ช้างเผือกนี้เป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว จึงให้ทหารนำสาส์นไปแจ้งให้พระเจ้าฟ้ารั่วมาคอยรับช้างเผือก ครั้นถึงเชิงเขาแห่งหนึ่งมีแม่น้ำขวางกั้น ทหารที่ติดตามช้างเผือกมาจึงทำพะเนียดล้อมช้างเผือกเอาไว้ เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วเสด็จมาก็ทำพิธีรับมอบช้างเผือกกัน ณ ที่แห่งนี้ |

 |
--------------------------------------------------------------- |


|
ตลาดริมเมย สุดชายแดนไทย-พม่า หรือ สุดประจิมที่ริมเมย
ตั้ง อยู่ต.ท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสถานที่ติดต่อค้าขายระหว่างไทย-พม่าโดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นเขตชาย แดนไทย-พม่า เป็นตลาดขายสินค้านำเข้าจากประเทศอินเดียและจีน ซึ่งตลาดแห่งนี้เป็นแหล่งค้าขายอัญมณีที่มีชื่อเสียง เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีจากพม่า ซึ่งมีทั้งแปรรูปเป็นอัญมณีรียบร้อยแล้ว และยังไม่ได้แปรรูปอีกมากมาย ตลอดจนงานหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ วัตุโบราณจากไม้สัก
การเดินทาง สามารถขึ้นรถสองแถวจากตลาดอำเภอแม่สอดไปตลาดริมเมยทุกวัน โดยลงที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า อัตราค่าโดยสารคนละ 10 บาท
|
--------------------------------------------------------------- |
ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวเขาดอยมูเซอ และพิพิธภัณฑ์มูเซอดำ
ตั้ง อยู่บนดอยมูเซอ ริมเส้นทางสายตาก - แม่สอด ทางหลวงหมายเลข 105 บริเวณกิโลเมตรที่ 28 ตลาดแห่งนี้ท่านจะได้พบเห็นภาพวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาที่นำผลผลิตจากไร่สวน มาจำหน่าย ภายในบริเวณตลาดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มูเซอดำ ซึ่งได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอดำ และชาวเขาเผ่าต่างๆ ไว้ทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากมีความประสงค์จะชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวเขา กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก โทรศัพท์ 0 5551 3614 และบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เป็นตลาดมูเซอเก่า โดยทั้งสองตลาดนี้เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องเงิน และพืชผลต่าง ๆ ทางการเกษตร เปิดจำหน่ายทุกวัน
|

 |
--------------------------------------------------------------- |

|
น้ำตกแม่กาษา
อยู่ที่ตำบลแม่กาษา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทางเดินขึ้นไปบนเขาสูง มีถ้ำ และธารน้ำกว้างประมาณ 5 เมตร เป็นทางจากปากถ้ำถึงน้ำตก
การเดินทาง จากเส้นทางสายแม่สอด - แม่ระมาด (ทางหลวงหมายเลข 105) ประมาณกิโลเมตรที่ 13 - 14 มีป้ายทางเข้าเขียนว่า บ้านแม่กื๊ดสามท่า จากปากทางเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร และมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร |
--------------------------------------------------------------- |
น้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษา
การ เดินทางไปยังน้ำพถร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษานั้น ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (แม่สอด-แม่ระมาด) แยกขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 13 ผ่านหมู่บ้านแม่กาษาถึงน้ำพุร้อนและถ้ำแม่อุษา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จำนวน 2 บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำสูง ประมาณ 75 องศาเซลเซียส ปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำ ซึ่งไม่มีกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อน มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และยังมีถ้ำแม่อุษาที่สวยงาม เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีห้องโถงถึง 13 ห้องที่มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปแบบต่างๆ แต่ละห้องจะมีความสวยงามแปลกตาไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเห็ดหลินจือ เพชรพิมาน กำหล่ำแก้ว ธาราแก้ว เสาเอก กาน้ำเจ้าแม่อุษา เป็นต้น ภายในอากาศโปร่งเย็นสบายไม่อับและเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับล้านตัว ใช้เวลาเดินชมความงดงามภายในถ้ำประมาณ 3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ศูนย์บริการหมายเลข โทรศัพท์ 0 5555 7190, 0 5555 7133
|

 |
--------------------------------------------------------------- |


|
พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่
ตั้ง อยุ่ท่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 5 ต.ท่าสายลวด วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ในสถูปเจดีย์ชาวบ้านเรียก ว่า "พญาล่อง" ตั้งอยู่บนภูเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก สร้างไว้บนก้อนหินด้วยแรงศรัทธาในกพระพุทธศาสนา เป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผากิ่วคอด เหมือนจะขาดออกจากกัน ชาวบ้านเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" ประวัติความเป็นมาใสการสร้างพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวกะเหรี่ยงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า ชื่อว่า นายพะส่วยจาพอได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้นำเงินตราเหรียญรูปีบรรทุกหลังช้างมา เพื่อหาที่สำหรับสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้นมาถึงบริเวณผากินกิ่ว (หรือดินจี่) ได้มองเห็นหินก้อนใหย่โดชะโงกงำตั้งอยู่บนหน้าผาสูงขัน และมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระอินทร์แขวนในจังหวัดมัณพเลย์ ประเทศพม่า จึงได้ทำการก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำพระสารีสริกธาตุบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ พร้อมกับพระพุทธรูปทองคำจำนวน 5 องค์ พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง มองลงมาข้างล่างจะเห็นทิวทัศน์ในเขตประเทศพม่าชัดเจน หินที่อยู่บนดอยนี้มีลักษณะสีดำหรือสีนำตาลไหม้ จึงเรียกว่า "พระธาตุดอยดินจี่" ซึ่งหมายถึงดินที่ไฟไหม้ ในราวเดือน กุมภพันธ์ ชาวอำเภอแม่สอด และหม่าจะมีงานนมัสการพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่นี้ทุกปี นอกจากนี้บริเวณวัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ยังมีสิ่งสำคัญคือ เรือโบราณพบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียน ได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินกี่ เป็นเรือท่าขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ขนาดจองเรือกว้าง 126 เมตร ยาว 13.35 เมตร สูง 0.52 เมตร หนา 0.04 เมตร ส่วนหัวเรือและท้ายเรือ มีความยาวเท่ากัน (ประมาณ 1.20 เมตร) ภายในเรือมีช่องสำหรับสอดไม้กระดานเพื่อทำเป็นที่นั่ง จำนวน 4 ช่อง มีระยะห่างไม่เท่ากัน จากรูปและขนาดของเรือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือที่ใช้ในการขนส่งอาหาร หรือสินค้าระหว่างทั้งสองฝั่งแม่น้ำเมย มีอายุประมาณ 200 ปี
|
--------------------------------------------------------------- |
|