สถานที่ท่องเที่ยว อำเภออุ้มผาง
 

อำเภออุ้มผาง

อำเภออุ้มผาง สันนิษฐานว่าเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวกะเหรี่ยง เมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว ต่อมาได้มีชาวไทยภาคเหนืออพยพลงมาหาที่ทำกินทางใต้เขตอำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด ในปัจจุบันบางส่วนก็ล่วงเลยลงมาทางใต้จนถึงอำเภออุ้มผาง เมื่อมามากเข้าก็กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเป็นเมืองชายแดน มีฐานะเป็นบ้านแม่กลองเก่า หมู่ที่ 4 ตำบลอุ้มผาง

               ได้มีสภาพเป็นอำเภอตามการปกครองในรูปของเทศาภิบาลเมื่อปี พ.ศ. 2441 เรียกว่า “อำเภอแม่กลอง” ขึ้นอยู่กับจังหวัดอุทัยธานี ครั้นปี พ.ศ. 2449 ได้โอนไปขึ้นอยู่กับจังหวัดกำแพงเพชร และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภออุ้มผาง” จนถึงปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบอำเภอลงเป็น กิ่งอำเภออุ้มผาง และให้ไปขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งให้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ไปสร้างใหม่เป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอที่บ้านอุ้มผาง หมู่ที่ 1 ตำบลอุ้มผาง ในปัจจุบัน

               ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2502ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภออุ้มผาง เป็นอำเภออุ้มผาง ขึ้นกับจังหวัดตากเป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้

การเดินทางผ่านถนนลอยฟ้าสู่อุ้มผาง

" อุ้มผาง" เป็นเมืองท่องเที่ยวในอ้อมกอดของผืนป่า และหุบเขาสูงแห่งสุดท้ายของประเทศไทยที่ยังเหลืออยู่ ผู้ไปเยือนอุ้มผางโดยทางรถยนต์จะได้สัมผ้สกับความงามของ "ถนนลอยฟ้า" ซึ่งเป็นแนวถนนลาดยางที่คดเคี้ยว 1,219 โค้งลัดเลาะไปในป่าใหญ่และสันเขาสูงสลับซับซ้อน

จากกรุงเทพฯ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ขัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ถึง จังหวัดตาก ระยะทางประมาณ 425 กม. ก่อนถึงตัวจังหวัดตาก 7 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทาง86 กม. แยกซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 1090 (แม่สอด-อุ้มผาง) ตามเทือกเขาถนนธงชัย เส้นทางคดเคี้ยวสลับซับซ้อน 1,219 โค้งจาก อ.แม่สอด ถึงอุ้มผางระยะทาง 164 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชม. รวมระยะทาง จาก กทม. 668 กม.

หมาย เหตุ : เส้นทางช่วงแม่สอด-อุ้มผาง นักเดินทางควรขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และรถที่ใช้ควรมีสภาพดี หรือรถที่มีสมรรถนะสูง เพราะเป็นเส้นทางตัดผ่านเทือกเขา ถนนมีความคดโค้งมาก มีจุดแวะพักบริเวณกิโลเมตรที่ 84 มีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ที่เมารถควรรับประทานยาแก้เมารถไว้ล่วงหน้า

---------------------------------------------------------------


น้ำตกทีลอซู

น้ำ ตกทีลอซู คำว่า ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง การเดินทางใช้เส้นทางบ้านแม่กลองใหม่-บ้านเปิ่งเคลิ่ง ระยะทาง 20 กม. ถึง ด่านป่าไม้เดลอแยกซ้ายมือจากถนนใหญ่ เป็นทางลำลองประมาณ27 กม. ถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเดินเท้าอีก 3 กม. ถึงน้ำตก ทีลอซู ลักษณะเป็นน้ำตกเขาหินปูนขนาดใหญ่กลางป่าตะวันตก ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อทอ มีน้ำไหลตลอดปี ความกว้างของน้ำตกประมาณ 500 เมตร แวดล้อมด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์สวยงาม ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก และสวยที่สุดในประเทศไทย รถยนต์(ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น)สามารถเข้าถึงที่ทำการเขตฯ เฉพาะในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม เท่านั้น ในช่วงเดือนอื่นๆ จะต้องใช้วิธีล่องแก่งแล้วเดินเท้าแทน

ล่อง แพ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผางได้ โดยติดต่อได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0 5556 1338

การเดินทางเข้าไป ท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง หรือน้ำตกทีลอซู นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องดำเนินการขออนุญาตก่อน โดยผ่านการประทับตรา สป. 7 จากกรมป่าไม้ (แบบฟอร์มดังกล่าวสามารถติดต่อผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง) เพราะพื้นที่นี้ไม่ใช่พื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการอนุญาตให้เข้าไปในฐานะผู้ศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเทศกาลวันหยุด จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตอำเภออุ้มผาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น้ำตกทีลอซูเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาความแออัดในแหล่งธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาเรื่องขยะรวมถึงห้องสุขาไม่เพียงพอ และถนนเสียหาย

---------------------------------------------------------------


น้ำตกทีลอจ่อ
อยู่ในเขตบ้านอุ้มผางอ.อุ้มผางหากล่องเรือไปท่าทรายก็จะผ่านตัวน้ำตกเป็นหน้าผาและสายน้ำเหมือนม่านสายฝนตลอดเวลามี 2 ขั้นน้ำตกชั้นบนไปได้โดยทางรถยนต์ระยะห่างจากที่ทำการอุ้มผาง 4-5กม.สูง 80 ม.ก่อนที่จะไหลลงหน้าผาสู่ลำน้ำแม่กลองชั้นที่2ตกเป็นฝอยเหมือนสายฝนห่มคลุมด้วยมอสและตะไคร้น้ำเขียวชะอุ่มสวยงามมากและเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมลงเล่นน้ำตกระหว่างการล่องแพเดินทางเข้าชมน้ำตกทีลอซูอีกด้วย

---------------------------------------------------------------



น้ำตกทีลอเร
เป็นน้ำตกที่อยู่บนโตรกผาลักษณะเป็นเพิงผาคล้ายถ้ำริมน้ำแม่กลองโดยมีลำน้ำสายใหญ่ไหลผ่านผาสูงชันตกลงสู่ลำน้ำแม่กลองสูงประมาณ80ม.ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก การเดินทางต้องล่องเรือยางจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงใช้เวลาเดินทางประมาณ2วัน
จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางลักษณะการผจญภัยและศึกษาธรรมชาติ

---------------------------------------------------------------

การล่องแก่ง
ป่าอุ้มผางอันหนาทึบและสมบูรณ์สุดยอดแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดสายธารหลายสาขาและที่รู้จักกันดีคือต้นน้ำแม่กลองที่มีลำห้วยหลายสายไหลมารวมกันในบ้านแม่กลองคีกลายเป็นต้นน้ำแม่กลองและสายน้ำนี้ได้เริ่มไหลผ่านอำเภออุ้มผางไปบรรจบกับลำน้ำแม่จันรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองจากนั้นก็ไหลลงทิศใต้ผ่านป่าทุ่งใหญ่นเรศวรจ.กาญจนบุรีเมื่อถึงที่นั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำแควใหญ่และเมื่อรวมกับแม่น้ำแควน้อยก็กลายเป็นแม่น้ำแม่กลองเดินทางออกอ่าวไทยที่สมุทรสงคราม



---------------------------------------------------------------


ถ้ำตะโค๊ะบิ๊
เป็นถ้ำที่ยาวมากแต่หาคนเดินสำรวจอย่างจริงจังไม่มีแม้จะเป็นถ้ำตาย  คือไม่มีหินงอกหินย้อยเกิดใหม่แล้วแต่ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอยู่บ้างหากมีเวลาเที่ยวจากที่อื่นแล้วถ้ำตะโค๊ะบิ๊อยู่ในเขตแม่กลองใหม่จากอุ้มผางใช้เส้นทางอุ้มผาง-แม่กลองใหม่ถึงกม.7มีทางเล็ก๐เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1 กม.ถึงบริเวณหน้าถ้ำนักท่องเที่ยวอย่าลืมเอาไฟฉายไปด้วยลักษณะถ้ำมีทางเดินลงไปเป็นชั้นๆข้างในจะมีทางแยกหลายทางเป็นถ้ำขนาดใหญ่เพดานถ้ำสูงทางเดินกว้างขวางไม่มีกลิ่นอับอากาศโปร่งมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากความลึกของถ้ำประมาณ 3กม.

---------------------------------------------------------------

ดอยหัวหมด
เป็นภูเขาสูงที่ลักษณะโล่งเตียนแนวยาวหลายลูกติดต่อกันบนภูเขานี้จะไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นแต่จะมีต้นหญ้าเตี้ยๆขึ้นอยู่ทั่วไปรวมทั้งโขดหินเป็นระยะมองจากด้านล่างขึ้นไปจะเห็นเหมือนพรมสีเขียวแซมด้วยโขดหินต้นไม้และดอกไม้เป็นแห่งเหมาะแก่การขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีคลื่นทะเลหมอกในตอนเช้าที่งดงามมากการเดินทางเริ่มจากอุ้มผาง-ปะหละทะประมาณ 10 กม.จุดชมวิวมี 2 จุดคือทางเนินเขาบริเวณ กม.9เดินขึ้นราว 15-30 นาทีแล้วแต่แรงคนและบริเวณกม.ที่10มีทางแยกซ้ายไปลานจอดรถและเดินเท้าอีก 5 นาที



---------------------------------------------------------------

หมู่บ้านฤาษีที่เลตองคุ  
เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่มีประเพณีการนับถือไหว้พระแตกต่างจากกะเหรี่ยงทั่ว ๆ ไป  หมู่บ้านนี้ปกครองโดยฤาษี  ซึ่งมีการสืบทอดทายาทการปกครองคล้ายดาไลลามะธิเบต ฤาษีตนปัจจุบันเป็นตนที่ ๑๐  ตัวฤาษีจะพำนักในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ภายในบริเวณวัด  เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจมากในทางเทวะวิทยาและมนุษย์ศาสตร์  นอกจากนี้ที่วัดยังมีงาช้างแกะสลักโบราณ


อายุกว่า  ๔๐๐  ปี  ยาวประมาณ  ๑๗๐  ซม.  หนัก  ๒  ข้าง รวมกันกว่า  ๔๐  กิโลกรัม  ที่โคนแกะสลักเป็นรูปพระพุทธรูปเจ้านั่งปางสมาธิโดยรอบถึงปลายงา  ชาวบ้านจะให้ความเคารพสักการะถือเป็นของคู่บ้านคู่เมือง  บ้านเลตองคุแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อถือ  ศรัทธาของชาวกระเหรี่ยงเป็นอย่างมาก



---------------------------------------------------------------